
จากบทความ “เติมนํ้ามันชนิดไหนดีที่สุด ให้เหมาะสมกับรถที่คุณใช้” จะเห็นได้ว่าเราได้กล่าวถึงความสำคัญในการเติมนำ้มันให้ถูกกับประเภทของรถยนต์ไปแล้ว โดยในวันนี้เราจะมาพูดเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำมัน “ไบโอดีเซล” หรือ B10 กันให้ละเอียดมากขึ้น เพื่อให้ทุกคนได้รู้จักและเกิดความเข้าใจประเภท รวมถึงประโยชน์ของการใช้น้ำมันดีเซล หรือไบโอดีเซล B10 ที่มีต่อประเทศของเรากันครับ ไปอ่านกันเลย
ในประเทศไทยเราใช้น้ำมันดีเซล แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ
- น้ำมันดีเซลสำหรับเครื่องรอบช้า (Industrial Diesel Oil ; IDO) บางครั้งเรียกว่าน้ำมันขี้โล้ สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรอบช้าและปานกลาง ซึ่งนิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมและเรือขนาดใหญ่ หรือใช้เผาไหม้ให้ความร้อนและมีสีเข้ม
- น้ำมันดีเซลสำหรับเครื่องรอบเร็ว (Automotive Diesel Oil ; ADO) หรือที่เรียกว่า โซล่า สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรอบเร็ว ซึ่งส่วนมากใช้กับยานยนต์ เรือขนาดเล็ก เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก และอุปกรณ์ก่อสร้าง หรือจะใช้เผาไหม้ให้ความร้อนในงานอุตสาหกรรม หรือใช้ต้มน้ำร้อนในโรงแรมก็ได้ น้ำมันดีเซลจะมีสีเหลืองอ่อนในตัวเองโดยธรรมชาติ

น้ำมันดีเซล ประเภท B คือ พลังงานทดแทนที่มาจากการนำน้ำมันดีเซลหมุนเร็วไปผสมกับไบโอดีเซล (เชื้อเพลิงดีเซลทางเลือกที่ผลิตจากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์) โดยตั้งชื่อแตกต่างกันตามสัดส่วนที่ผสม
และจากข้อมูลในปัจจุบัน น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา B7 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B10 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 โดยน้ำมันดีเซลทั้ง 3 ประเภท มีคุณภาพเหมือนกันทุกประการ แต่มีความแตกต่างกันที่สัดส่วนผสมไบโอดีเซล ดังนี้
- น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา หรือ B7 มีสัดส่วนไบโอดีเซล 6.6 – 7%
- น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B10 มีสัดส่วนไบโอดีเซล 9 – 10%
- น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 มีสัดส่วนไบโอดีเซล 19 – 20%
ประโยชน์และข้อดีของการรณรงค์ใช้น้ำมันดีเซล B10
- สร้างสมดุลปาล์มน้ำมันในประเทศได้ทั้งระบบ เป็นการปริมาณการใช้ทั้งภาคพลังงาน และเพื่อการบริโภค
- สร้างเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมันให้สูงขึ้น
- ช่วยลดมลพิษ (ปริมาณฝุ่น PM 2.5) เนื่องจากการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในสัดส่วนที่สูงขึ้น
- ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3 ของปริมาณการใช้ดีเซล หรือประมาณ 1.8 ล้านลิตรต่อวัน เนื่องจากปกติมีการใช้ B7 วันละประมาณ 60 ล้านลิตร จึงต้องนำเข้าน้ำมันดิบมาผลิตเป็นนำมันสำเร็จรูป เมื่อเพิ่มสัดส่วนขึ้นเป็น 10% (หรือ B10) จึงสามารถช่วยประหยัดการนำเข้ามาและยังแก้ปัญหาน้ำมันปาล์มล้นตลาดอีกด้วย
จะเห็นได้ว่านำมันดีเซล B7 B10 และ B20 ต่างกันเพียงสัดส่วนของการผสมกับไบโอดีเซล ซึ่งไม่ว่าจะมีสัดส่วนต่างกันมากน้อนเพียงใด ตัวน้ำมันก็ยังคงมีคุณภาพเหมือนกัน โดยการที่ทุกคนหันมาใช้นำมันดีเซล B10 นั้นจะเป็นการสนับสนุนปาล์มน้ำมันและพัฒนาเศษรฐกิจของประเทศไทยอีกด้วย
ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงพลังงานพบว่า ในปัจจุบันนี้ รถยนต์ส่วนใหญ่สามารถใช้ B10 ได้มากกว่า 50% แล้วครับ โดยรถยนต์ยุโรปและรถที่มีอายุการใช้งานเป็นเวลานานจะยังไม่สามารถเติมน้ำมัน B10 ได้ แต่ยังสามารถเติมน้ำมันดีเซล B7 ได้ ซึ่งมีจำหน่ายตามสถานีบริการน้ำมันทั่วไป โดยในประเทศไทยของเรานั้น ได้ประกาศใช้น้ำมันดีเซล B10 อย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมาครับ สุดท้ายนี้ ทุกท่านสามารถสืบค้นตรวจสอบข้อมูลว่ารถยนต์ที่ใช้อยู่สามารถใช้น้ำมันดีเซล B10 ได้หรือไม่ ได้ที่เว็บไซด์ กรมธุรกิจพลังงาน www.doeb.go.th หรือติดต่อสอบถามโดยตรงที่ศูนย์บริการหรือศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ของผู้ผลิตรถยนต์แต่ละยี่ห้อได้เลยนะครับ
และหากใครต้องการมองหารถยนต์มือสอง รถยนต์มือหนึ่ง หรืออยากขายรถมือสอง สามารถเข้ามาเช็คราคารถและข้อมูลได้ที่ wwwstg.mottoraka.com ได้เลยนะครับ เพราะเราคือตลาดรถยนต์ที่เข้าใจคุณ
ขอบคุณข้อมูลจาก https://car.kapook.com/view221407.html และ https://www.greennetworkthailand.com/
เช็คราคารถของท่านได้ที่นี่ มอตโต้ราคา
เข้าชม ตลาดรถ และโพสต์ขายรถของท่านได้ที่นี่ ตลาดรถ